เมืองโหม่วฮัน สิบสองปันนา อีกครั้งหลังสงกรานต์ ๒๕๕๕

หลังจากไปเยือนเมืองม่อหานเมื่อเดือนเมษายนปี ๒๕๕๓ ปีถัดมาอำเภอเชียงของมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดเดือนจึงว่างเว้นไป มาปีนี้ เมืองม่อหานมีหนังสือเชิญมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน โดยแจ้งกำหนดวันจัดงานเป็นวันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๕ ทำให้คราวนี้ได้มีเวลาทำการบ้านพอสมควร เราตั้งประเด็นว่าจะถือโอกาสที่ไปร่วมงานครั้งนี้ให้ได้ประโยชน์ต่ออำเภอเชียงของเราให้มากที่สุด ่จึงวางแนวทางไว้ว่า นำนักธุรกิจท้องถิ่นจริงๆ ร่วมคณะไปด้วย ซึ่งจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้นำจากเมืองชายแดนใกล้เคียงในกลุ่ม สปป.ลาวกับเมืองม่อหาน และน่าจะขยายเครือข่ายสู่ธุรกิจร่วมกันต่อไป จากนั้นก็แวะเยี่ยมเยือนกระชับความสัมพันธ์กับคณะปกครองเมืองหลวงน้ำทาด้วย การประสานงานกับเมืองม่อหานและเมืองหลวงน้ำทาเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนพาหนะเราเอารถไปกันเอง โดยกำหนดออกเดินทางเช้าวันที่ ๒๐ ถึงเมืองม่อหานตอนบ่าย ร่วมงานวันที่ ๒๑ เช้า บ่ายเดินทางกลับ ตอนเย็นร่วมรับประทานอาหารกับคณะปกครองเมืองหลวงน้ำทา วันที่ ๒๒ ตอนเช้าเที่ยวชมตัวเมืองซักพักถึงจะกลับเชียงของ

ที่พักริมทางน้ำแอง

ในวันเดินทาง พอมาถึงเมืองห้วยทราย การติดต่อสื่อสารกับเมืองไทยต้องใช้ซิมโทรศัพท์ของลาวเทเลคม รหัสโทรออกก็ต้องเปลี่ยนไป จากที่เราโทรจากเมืองไทยกด 00500 แล้วก็ตามด้วยรหัสประเทศ เช่น จีน ก็ต้องกด 86 พอเปลี่ยนมาเป็นซิมลาว โทรไปเมืองไทยต้องกด 0066 ตามด้วยเบอร์โทร สำหรับโทรมือถือให้ตัด 0 ออก กดเฉพาะตัวเลขที่เหลือได้เลย ถ้าโทรไปจีน ให้กด 0086 ตามด้วยเบอร์โทรจีน ที่มักจะขึ้นต้นด้วย 138 ไม่ก็ 133 รวมแล้ว 11 ตัว จะมากกว่าของไทยเราซึ่งมี 10 ตัว ส่วนการเดินทางครั้งนี้ เราทำเวลาได้เหนือความคาดหมายจริงๆ เพราะทุกครั้งที่ไป สปป.ลาว ยอมรับว่าสภาพถนนหนทางแทบจะเปลี่ยนใจไปเลย ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อก็อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะทางไม่ถึง 300 กิโลใช้เวลาครึ่งค่อนวัน แต่มาคราวนี้ต้องยกนิ้วให้ ทางจากเมืองห้วยทรายมาเมืองเวียงภูคาเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ใช้เวลาแค่ชั่วโมงเศษๆ เพราะเราขับแบบสบายๆ เลยถือโอกาสแวะตามรายทางเยี่ยมที่พักบ้านน้ำแองที่พี่ที่สนิทกันไปร่วมทุนกับลาวจะสร้างเป็นจุดพักรถพักคน มีร้านอาหาร ที่พัก แต่ที่พาไปดูจุดขายอีกอันคือมีถ้ำที่ปลาชุกชุมมากๆ คือตรงนี้ติดกับป่าอนุรักษ์แหล่งอาหารที่ธนาคารอะไรจำชื่อไม่ได้คล้ายกับว่าธนาคารขจัดความยากจนมาตั้งต้นไว้ ตอนเดินไปดูตามเส้นทางที่ไปถ้ำซึ่งไม่ไกลจากจุดจอดรถจะพบเครื่องเซ่นไหว้ตลอด ถือเป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งของเมืองเวียงภูคา

P1120011P1120013P1120014P1120016P1120018P1120019

พูดถึงเมืองเวียงภูคา เรามักจะนึกถึงแต่เหมืองแร่ลิกไนท์ แต่ที่จริงเมืองนี้มีต้นทุนทางธรรมชาติอยู่เยอะ เค้ามีอุทธยานแห่งชาติเวียงภูคา บางท่านกำลังคิดว่าชื่อนี้คุ้นๆหูชอบกล ครับชื่อเหมือนกับวนอุทธยานแห่งชาติดอยภูคา ที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ที่มีดอกชมพูภูคา ที่ว่ากันว่า มีแห่งเดียวในโลกนั่นแหละ ที่นี่ถึงกับมีทัวร์ป่า หรือ Jungle Tour เลยทีเดียวนะครับ ด้วยเหตุที่เมืองนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างแขวงบ่อแก้วที่ติดกับอำเภอเชียงของกับแขวงหลวงน้ำทา ซึ่งเราจะเดินทางออกจากแขวงบ่อแก้วก็มาถึงประมาณเที่ยง คนไทยส่วนใหญ่ก็จะแวะทานอาหารป่าที่ บ้านท่าฟ้า อยู่ก่อนถึงเมืองเวียงภูคา เป็นร้านเล็กๆ แต่ส่วนใหญ่จะเห็นรถตู้ รถทัวร์ จอดเต็ม นอกจากนี้ ในปีนี้ทางลาวเค้ายกให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยว เค้าก็เตรียมการสร้างเมือง สร้างตึกร้านค้าไว้ ไม่เว้นแม้กระทั่งร้านอาหาร วันนี้มีร้านอาหารจีนที่เปิดโดยคนจีนแล้ว แต่มีอยู่ร้านเดียว ก็เข้าไปกะว่าจะชิมฝีมือซักหน่อย เห็นลูกค้านั่งอยู่สองสามโต๊ะทั้งคนจีนและคนลาว มีกาน้ำชากับตะเกียบมาเสริฟไว้แล้ว ลูกค้านั่งรอ โต๊ะคนจีนก็ล้งเล้ง่ตามมาตรฐานเค้าล่ะ ก็ไปคุยกับคนลาวที่นั่งรออยู่ทราบว่ามาทานอาหารที่นี่เหมือนกัน นี่ก็สั่งไปแล้วนานสมควร คณะเราหารือกันสรุปว่าเปลี่ยนไปกินเฝอลาวน่าจะดีกว่า เพราะร้านนี้คนเสริฟคนทำอาหารคงจะน้อย ขณะที่ลูกค้าคนจีนก็ทะยอยเข้าร้าน สุดท้ายก็เลยตัดสินใจออกไปกินเฝอลาวที่ร้านตรงข้ามกันนั่นแหละ ธุรกิจอีกอย่างน่าจะไปได้ดีจะเป็นธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากมีความต้องการการก่อสร้างมาก อาคารห้องว่าการปกครองเมืองสร้างเสร็จใหม่ๆ บริเวณใกล้ๆ กันก็เตรียมสร้างร้านค้าอาคารพาณิชย์อีกเยอะ

มาถึงด่านชายแดนบ่ายสองโมงกว่าก็โทรบอกเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานของเมืองม่อหานมารับ ระหว่างรอก็ไปยื่นทำวีซ่า บังเอิญทีเดียวเจอเจ้าหน้าที่คนสวย Yu-Jin-Jiao ที่เรามาครั้งที่แล้วเธอเป็นล่ามฝ่ายเมืองม่อหาน ตอนนี้มาทำงานเป็น ตม.อยู่ที่นี่ ก็ดีใจพูดคุยสารทุกข์สุขดิบกันไป ดูรูปเก่ากับรูปปัจจุบันยังสวยเหมือนเดิม

P10809312012-04-20 15.15.262012-04-20 15.27.11

ตอนเย็นเจ้าภาพรองเลขาพรรคฯเลี้ยงอาหารเย็นที่โรงแรมที่พัก คือโรงแรมยี่ไหล Yi - Lai พร้อมกับคณะของท่านสายสะหมอน คมทะวง รองเจ้าแขวงหลวงพระบาง คุยสนุก ท่านบอกว่าอาหารเข้านี่ทานเพื่อตัวเอง(ตอนเช้าตื่นมาหิวกินเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไป) อาหารเที่ยงกินเพื่องาน (ต้องรีบกิน กินเสร็จต้องรีบไปทำงาน) ส่วนอาหารเย็นกินเพื่อศัตรู (ท่านว่าศัตรูคือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ กินไม่เป็นมีแต่โรคทั้งนั้น ไขมัน ความดันฯลฯ) ท่านมีเรื่องเล่ามากมาย เราก็ฟังไปขำไป

P1120025P1120027P1120058

จากโหม่วฮัน สู่เมืองซือเหมา :ไปดูไร่ชาและวัฒนธรรมชนเผ่า

ที่โรงแรมมีคนไทยอีกคณะหนึ่งที่มาพักและร่วมงานเดียวกันคือสมาคมจงหัว มาทั้งหมด 9 คนด้วยกัน จากที่พูดคุยกันทราบว่าหลังร่วมงานที่โหม่วฮันจะเดินทางไปเมืองซือเหมา ตามคำเชิญของสมาพันธ์คนจีนโพ้นทะเลของเมืองผูเอ๋อ(ซือเหมา) Pe’er Municipal returned overseas chinese federation และยินดีหากคณะเราจะร่วมไปด้วย ซึ่งทางคณะเราก็ตกลง ภายหลังได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของเมืองโหม่วฮันได้กรุณาจัดรถแท๊กซี่ไปส่งถึงเมืองซือเหมาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

บรรยากาศในงานไม่แตกต่างจากปีก่อนมากนัก สำหรับปีนี้ถือเป็นปีใหม่ของไตลื้อเป็นปีที่ 1374 ผู้คนมาร่วมงานจากหลายเมือง ทั้งของจีนและลาว เจอหลายคนที่รู้จักกันครั้งที่แล้ว มีการออกร้านเป็นระเบียบมากกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งเต้นท์สองฝั่งถนนยาวเป็นกิโล มีเต้นท์ของพระด้วย ท่านมาจำหน่ายของขลังด้วยตัวเองทีเดียว มีการพักไปทานอาหารกับญาติโยมด้วย ซึ่งบ้านเราทำอย่างนี้ไม่ได้แน่

P1120060P1120073P1120083P1120084P1120095P1120100P1120103P1120110pP1120112P1120122P1120128

สำหรับเมืองซือเหมา ภายหลังเปลี่ยนชื่อใหม่คือเมืองผูเอ๋อ pe’er มีชื่อเสียงในเรื่องชามาตั้งแต่โบราณ ได้ยินชื่อครั้งแรกเมื่อนายกเทศมนตรีเมืองผูเอ๋อพร้อมคณะนักธุรกิจมาดูงานระะบบการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ที่เชียงของ ได้พูดถึงการทำไร่ชา เรื่องชาผูเอ๋อเป็นชาที่มีคุณภาพเยี่ยมยอดและเป็นชาที่ส่งให้ราชสำนักมาแต่ครั้งโบราณ

ไฟล์:Location of Pu'er Prefecture within Yunnan (China).png

เจ้าภาพหลักในงานนี้คือสมาพันธ์คนจีนโพ้นทะเลของเมืองผูเอ๋อ(ซือเหมา) Pe’er Municipal returned overseas chinese federation อย่างที่ว่ามาแต่ต้นนั่นแหละ นำโดยท่านนายกสมาพันธ์ คุณ Huang Hong Sheng ที่ให้เกียรติมาดูแลคณะเราตลอดทริป 1 วันเต็มๆ สำหรับการศึกษาดูงานในเมืองนี้ เราได้พบเห็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้นเองสำหรับเมืองที่มีประชากรสองล้านกว่าคน พื้นที่กว้างใหญ่ เพียงชมหมู่บ้านไร่ชาที่เดียวก็เกือบค่อนวันแล้ว เวลาที่เหลือไปชมสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมือง สระน้ำที่ขงเบ้งพาทหารนำม้าไปอาบน้ำ ที่ตอนนี้พัฒนาเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ราชการของเมืองผูเอ๋อ ทุกแห่งที่ไปถือเป็นที่สุดของความงดงามและมโหฬาร เรียกว่าอลังการงานสร้างเลยทีเดียว สถานที่บ้านเรือนและสภาพอากาศบวกกับที่ตั้งสูงระดับ 1300 เมตร ทำให้รู้สึกว่าทั้งเมืองเหมือนรีสอร์ทขนาดใหญ่ สวยทุกมุมมอง มีการออกแบบภูมิสถาปัตย์ Landscape ของเมืองใหม่ได้อย่างลงตัว เหนือคำบรรยายใดๆ บอกตรงๆ ได้เลยว่าผมมองด้วยความตื่นตะลึง ทั้งเมืองที่เป็นภูเขา แต่การออกแบบก่อสร้างใช้จุดเด่นของความสูงมาเล่นระดับอย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหมู่บ้านของเกษตรที่ไร่ชา หรือคอนโดของข้าราชการ อาคารพาณิชย์ในตัวเมือง อีกอย่างเค้าจะมีการออกแบบที่แฝงสัญญลักษณ์ของชาอยู่ทุกจุด ซึ่งเป็นจุดเด่นของเมือง จุดเด่นอีกประการคือความเป็นชนเผ่าที่หลากหลาย ซึ่งเค้าได้รักษาวัฒนธรรมของแต่ละเผ่าไว้อย่างเหนียวแน่น

คงได้แต่นำรูปมาแบ่งกันดู เอาไว้คราวหน้าจะได้พูดถึงเมืองนี้ในด้านต่างๆ อีกครั้ง/.

image

imageimageP1120158P1120194P1120211P1120231P1120247P1120251P1120254P1120261P1120275P1120283P1120297P1120305P1120334P1120335P1120336P1120350P1120356P1120365P1120382P1120391P1120393P1120404P1120407P1120408P1120410P1120412pP1120415

สระขงเบ้ง

Comments