Washington :Evergreen State





ซื้อดอลลาร์ขลุกขลักเล็กน้อยเพราะต้องใช้พาสปอร์ตด้วย แต่ถ้าขายดอลลาร์ต้องใช้บัตรประชาชนคู่กัน ไปรอร้านเปิด 08.30 น.วันนี้ราคาขายที่ 1/31.85 ถือว่าถูกกว่าธนาคาร ชื่อร้าน Super rich อยู่ตรงข้าม ธกส.สนง.เชียงราย
 
 ตั๋วเครื่องบินบางกอกแอร์เวย์ อนุญาตให้โหลดกระเป๋าน้ำหนักสำหรับผู้โดยสาร 1 ท่านได้ 20 กิโล แต่โหลดเกินได้ถึง 32 กิโล จ่ายเพิ่ม 90/กิโล เช็คตั๋วแล้ว มีบริการรับกาแฟฟรีระหว่างรอขึ้นเครื่อง บนเครื่องมีอาหารเสริฟอีก แพ็คเดียวอิ่ม รู้งี้ไม่น่ากินข้าวมันไก่มาเลย จานละตั้ง 45 รสชาติกากมาก ชอบกระดาษรองอาหารออกแบบสวย Boutique street food รวบรวมเสน่ห์ของเอกลักษณ์ไทยริมถนนแบบต่างๆ น่ารักมาก มีข้อสังเกตเล็กๆ แอร์โฮสเตสสวยน้อยกว่าเวียตเจ็ทแอร์นิดๆ
ถึงสนามบินสุวรรณภูมิโชคดีเจอเพื่อนเก่ามีลูกชายเป็นกัปตันเวียดเจ็ทแอร์จะกลับเชียงรายช่วยเป็นธุระพาหาเคาท์เตอร์สเช็คอินของ Ana มาเจอที่ชั้น 4 Row L/M พรุ่งนี้หวังว่าจะไม่ขลุกขลักอีก
ตรงจุดนี้ มีประตูเข้าออกสำหรับไปเรียกแท็กซี่ได้เลย
เข้าพักที่ทองทาเรสซิเดนซ์ อันนี้จองผ่านเว็บไซต์ ค่าที่พัก 700 บาทเตียงคู่ บวกค่ารถไปสนามบินพรุ่งนี้เช้าอีก 150 บาท คุณภาพตามราคาต้องเปลี่ยนห้องเพราะแอร์ไม่เย็น มีไวไฟฟรีให้แต่ไม่มีเน็ต
ปลั้กไฟใช้แบบเดียวแบบแบน
ตื่นตีสี่เพราะเพื่อนรุ่นรัดสาด มช.โทรหาเมื่อคืนบอกว่าไปไฟล์ทเดียวกัน จะได้คุยทุกข์สุขเพราะไม่เจอกันตั้งแต่เพื่อนมาอยู่แคนาดาเมื่อสามสิบปีก่อน
รถตู้ขอฃองที่พักมาส่งสนามบินในเวลาไม่เกินสิบนาที เพื่อนมาถึงก่อนเข้าเช็คอินรอแล้ว แปลกใจเล็กน้อยที่เคาเตอร์เช็คอินโล่งหลายช่อง พนักงานต้อนรับถามที่พักใน Seattle เพื่อกรอกในตั๋วเดินทางพร้อมโหลดกระเป๋าเรียบร้อย อีกอย่างสายการบินให้โหลดกระเป๋าได้สองใบๆละ 23 กิโลกรัม คิดในใจว่าตอนขึ้นเครื่องกลับสายการบินบางกอกแอร์เวย์จะต้องเสียค่าธรรมเพิ่มอีกไม่ใช่น้อย จะคุ้มมั้ย ส่วนที่เป็นกังวลว่าตอนเปลี่ยนเครื่องที่นาริตะจะหาเครื่องไม่เจอ เค้าบอกไม่ต้องห่วงเที่ยวนี้มีคนไทยไปอเมริกา 150 คนไม่มีแตกแถวแน่นอน ส่วนเพื่อนนี่หนักเลย จากนาริตะไปเข้าแคนาดาที่ออตตาวาต่อเครื่องอีกเพื่อไปเมืองโตรอนโต รวมๆแล้วกว่าสามสิบชั่วโมง
บริการของสายการบิน Ana นี่ถือว่าใช้ได้เลย แอร์โฮสเตสสัญชาติญี่ปุ่นหน้าตาก็เลยออกมาแนวคิกขุหน่อยๆ ได้โอกาสเลยขอชา ขอน้ำดื่มวนไปบ่อยหน่อย ส่วนอาหารมีให้เลือกแบบไทยกับแบบฝรั่ง พูดง่ายๆจะเอาข้าวหรือสเต็ก เลยขอแบบไทยละกัน แต่ทั้งสองแบบจะมีเส้นหมี่เหลือง ผลไม้และโยเกิร์ตเหมือนกัน อาหารเค้าเสริฟตอนแปดโมง ต่อมาเสริฟฮ็อตด้อกอีกตอนสิบเอ็ดโมง ก่อนถึงสนามบินนาริตะเที่ยงกว่าแต่เวลาที่นี่เร็วกว่าบ้านเราสองชั่วโมงซึ่งก้อคือเวลาบ่ายสองโมงนั่นเอง
ชอบเวลาบินเข้าเขตญี่ปุ่นนี่มองมาข้างล่างเห็นเกาะเล็กเกาะใหญ่ ที่สำคัญเห็นภูเขาไฟน่าจะเป็นภูเขาไฟฟูจิอันนี้ประเมินจากรูปทรงที่เห็นเอา
ตอนลงเครื่องต้องผ่านศุลกากรของที่นี่อีกรอบว่ามีสินค้าต้องห้ามหรือเปล่า มีคนซื้อเหล้าแสงโสมกับแม่โขงไทยหิ้วไปด้วย เค้าเรียกไปทำเอกสารอีกใช้เวลาพอสมควร ช่วงรอเวลาเปลี่ยนเครื่องแอบแว้บเข้าห้องน้ำหน่อยได้ยินว่าที่นี่ห้องน้ำทันสมัยสุดๆ และมันก้อเป็นตามนั้น สรุปว่ามือไม่เปื้อนตูดไม่เย็น โห เทคโนโลยีสุดยอด
สนามบินนาริตะมีบริการไวไฟฟรีด้วย ขนาดนั้นยังมีหนุ่มผิวสี ถือมือถือมาหาถามว่ามันเข้าไวไฟยังไง พอแนะนำเสร็จเค้าขอบคุณใหญ่เลย อดภูมิใจนิดๆ ว่าภาษาประกิตที่พูดไปไอ้หนุ่มนี่มันเข้าใจแฮะ พอขึ้นเครื่อง แอบสังเกตว่าสายการบินนี้เค้าคัดแอร์ไซส์ใหญ่แบบอเมริกันต่างจากเส้นบินมานาริตะที่ไซส์ค่อนข้างมินิแบบเอเซีย ความที่ใช้เวลาบินนานกว่า มีการเสริฟอาหารถึงสองมื้อ คือมื้อเย็นกับมื้อเช้า อันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตอนออกบินเวลา 18.45 น.แต่บ้านเรายังเป็นเวลา 16.45 น.อยู่เลย ดังนั้นพอบินได้สักพักเค้าก็เริ่มเสริฟอาหารเย็นแล้ว ซึ่งปกติแล้วไม่ค่อยจะซีเรียสกับอาหารเย็นอยู่แล้ว แต่พอดีเหลือบเห็นเค้าเตรียมไวน์มาด้วย โอมันช่างเข้ากับกาละเทศะจริงเชียว ถือโอกาสนี้จิบไวน์ฉลองซะเลย ฉลองแบบไม่รู้จะฉลองอะไร มันคือแอลกอฮอล์เดียวที่มีให้เลือก ณ เวลานั้นจริงๆ จากนั้นหากิจกรรมทำไปเรื่อย เล่นมือถือมั่ง ดูหนังมั่ง ดูแผนที่การบินมั่ง จนเค้าประกาศว่าให้เตรียมตัวจะถึงสนามบินซีแอตเติลแล้ว พร้อมกับนำเอกสารที่เรียกว่า Declearation Custom หรือการแจ้งต่อศุลกากรว่าเรามาจากประเทศไหน เที่ยวบินอะไร ได้นำสิ่งของทรัพย์สินเงินทอง อะไรติดตัวมาหรือไม่ ถ้ามีที่เค้าห้ามก้อแจ้งไป ซึ่งต้องกรอกไว้ก่อน ถ้าไม่ได้กรอกจะเสียเวลาตอนยื่นหนังสือเดินทางเข้าเมืองเพราะแถวคิวยาวมาก ขนาดกรอกเรียบร้อยมาก่อน ตอนเข้าคิวเพื่อประทับตราเข้าเมือง ใช้เวลาชั่วโมงกว่า ที่นี่ศุลกากรกับตรวจคนเข้าเมืองเขาเป็นคนเดียวกัน ไม่แยกเหมือนบ้านเรา ดังนั้นจึงมีอำนาจตรวจทั้งคนทั้งสิ่งของ ซึ่งตอนที่เจ้าหน้าที่สัมภาษณ์จะสอบถามคล้ายกับในแบบการแจ้งที่เรากรอก และมีการสแกนลายนิ้วมือ และถ่ายรูป พร้อมกับประทับตราในหนังสือเดินทางและใบแจ้งศุลกากร ตอนนี้สำคัญเพราะทีแรกเข้าใจว่ากระบวนการเข้าเมืองเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งมันยังไม่จบ เพราะระหว่างที่เราออกมารับกระเป๋าด้านล่าง จะมีศุลกากรอีกชุดหนึ่งพร้อมสุนัขดมกลิ่นสุ่มตรวจกระเป๋าเดินทางและเมื่อสงสัยก็มีอำนาจเปิดกระเป๋าได้เลย ตรงนี้โชคดีที่ลูกสาวได้ติวคุณพ่อไว้ก่อนมาว่าให้ใช้กระเป๋าที่มีล็อคเป็นมาตรฐาน แบบ TWA Approve คือเจ้าหน้าที่สามารถใช้กุญแจของเขาเปิดกระเป๋าเราได้โดยกระเป๋าไม่ชำรุดเสียหายเอาแบบเข้าใจง่ายๆ คือกระเป๋าที่ล็อคโดยหมุนตัวเลขรหัสนั้นแหละ และมีอักษร T ที่ตัวล็อค ซึ่งถ้าเค้าไม่สงสัยก้อยื่นคืนใบแจ้งให้เค้าไป ตอนตรวจเจ้าหน้าที่เค้าเข้มงวดมาก ทั้งชายและหญิง แม้แต่แอร์โฮสเตสที่จะไปปฏิบัติงานเค้าก้อไม่เว้น พอสุนัขเข้าไปดมๆ เค้าจะสั่งให้เปิดกระเป๋าทันที หรือเวลาที่เค้าขอดูใบแจ้งต่อศุลกากร บางทีเราฟังไม่ทันจะเดินออกไปตรงทางออก เค้าจะออกคำสั่ง Stop น้ำเสียงจริงจังมาก พอเห็นเอกสารแล้วเค้าก้อจะอนุญาตให้ออกไปได้ ซึ่งใบนี้ ครอบครัวเดียวกันใช้ใบเดียวพอ ตอนนี้สรุปเวลาที่เดินทางบินจริงจากนาริตะถึงซีแอตเทิลใช้เวลาทั้งสิ้น 8.36 ชม. โดยมีการข้ามเส้นเวลา ดังนั้น จึงมาถึงเวลา 11.14 น. ของวันที่ 22 พฤษภาคม เพราะเวลาที่นี่ช้ากว่าบ้านเราถึง 14 ชั่วโมง เช่นเดียวตอนกลับ เวลามันจะบวกให้อีก 14 ชั่วโมงเช่นกัน
ออกสนามบินจะไปร้านอาหารบุฟเฟท์ระหว่างทางรู้สึกเพลิดเพลินกับรถยนต์ที่สวนทางไปมาที่มีรูปทรงแปลกๆ ที่เราไม่เคยเห็นในเมืองไทย โดยเฉพาะรถปิคอัพ ขอบอกว่าที่นี่คันใหญ่มาก สูงด้วย รถตรวจการณ์หรือ MPV เห็นแล้วโดนใจจริงๆ
อาหารบุฟเฟท์ที่นี่มีหลากหลายทั้งอาหารจีน ฝรั่ง ที่พิเศษคืออาหารแบบมองโกเลี่ยนที่มีทั้งผักและเนื้อสด เราต้องเลือกผักและเนื้อใส่รวมในจานแล้วให้พ่อครัวปรุงให้เดี๋ยวนั้นเลย เครื่องดื่มเย็นมีแบบตู้ให้เลือกกดมีทั้งโค้ก น้ำส้ม เห็นเมนูบอก Root Beer แอบคิดว่าคงจะมีแอลกอฮอล์รึเปล่า ปรากฏว่าไม่มีแอลกอฮอล์แต่กลิ่นแปลกๆ คล้ายกับกลิ่นโซดาผสมมะนาวประมาณนี้
ออกมาเดินย่อยอาหารที่สวนสาธารณะติดชายทะเลซึ่งชาวเมืองนิยมมาออกกำลังกายกัน ทุกเพศทุกวัย แต่ตรงบริเวณที่จอดรถจะมีกลุ่มสายควันมารวมตัวกันพี้กัญชากันอย่างมีความสุขเพราะที่รัฐวอชิงตัน การเสพกัญชาไม่ผิดกฏหมาย นับว่าเป็นแดนสวรรค์สำหรับสายควันอย่างแท้จริง
Care pool รถรัฐไปทำงานด้วยกัน

Comments