Holux m-1000 มิตรภาพระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี

                       สามวันแรกหมดไปกับการลูบๆคลำๆ พลิกซ้ายทีพลิกขวาที บางทีอดไม่ได้ก็หยิบมาดมๆ ดู กลิ่นไม่เลวแฮะใช้ได้ทีเดียว อ้าวเตลิดไปไหนต่อไหนแล้วเนี่ย สรุปว่าพอชื่นชมสมใจแล้ว ก็เอาอุปกรณ์ทั้งหมดมาดูซิว่าสมบรูณ์รึยัง

    clip_image001

     

                          เริ่มจากเจ้า GPS ก่อน อันนี้เอาไว้ป้อนพิกัดบนโลกมนุษย์(โลกอื่นไม่เคยไป) เป็นข้อมูลดิบ เหมือนกับจะทำแกงทำลาบ ก็จะต้องมีเนื้อมีหมูอะไรไว้ ฝรั่งเค้าเรียกว่า input

    ถัดมาก็โนตบุค เปรียบเหมือนกับหม้อ กระทะ ไว้เป็นเครื่องมือทำอาหาร ในที่นี้เอาไว้ประมวลผลขัอมูลที่ได้รับมาจาก GPS แล้วก็นำเสนอผ่านหน้าจอคอมฯ ในลักษณะของภาพ สำหรับเสียงนี่เลย กล่องสีขาวคู่ที่วางบนโนตบุคไง ซื้อมาคู่ละสองร้อยห้าสิบมีจุดเด่นคือใช้พลังงานจากโนตบุคโดยผ่านพอร์ท USB ของโนตบุคโดยตรง ระบบเสียงใช้ได้ทีเดียวเอาไว้ฟังในรถตอนนำทาง เพราะเครื่องเสียงในรถไม่มีช่องต่อ Aux in สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก์มือถือไง เอาไว้ต่อเนต GPRS เพื่อใช้เชื่อมข้อมูลแปลค่าจากเว็บหรือโปรแกรมต่างๆ จะได้รู้เส้นทาง ตำแหน่งที่อยู่ในทางภูมิศาสตร์หรือไสยศาสตร์อะไรก็ว่ากันไป ทั้งหมดเนี่ยจะมีหน้าที่ของใครของมันขาดอันใดอันหนึ่งก็ไม่สมบรูณ์ ตอนนี้ไปไหนเหมือนกับบ้าหอบฟางทีเดียว

                           ทีนี้ก็มาถีงเรื่อง SOFTWARE ที่จะใช้ โอ้ย..มากมายก่ายกอง ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ประโยชน์จาก GPS มาทำอะไร ส่วนใหญ่มักจะคิดถึงแต่เรื่องนำทาง (Navigator) เป็นหลัก ทั้งๆที่เค้าสามารถวัดระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล วัดระยะทาง คำนวณพื้นที่ สร้างแผนที่แนวเขต บอกเส้นทางการเดินทาง(อันนี้พ่อบ้านคงไม่ชอบใจเท่าใหร่ เพราะออกจากบ้านไปแวะที่ไหนรู้หมด หึหึหึ) สารพัดที่จะนำไปปรับใช้เอาเอง

                            ก่อนอื่นเราต้องรู้จักชนิดของไฟล์ที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น nmea เป็น text ไฟล์บอก path,waypoint บอก track ไม่รู้จะแปลยังไงเพราะคำมันใกล้ๆ กันเหลือเกินสรุปง่ายๆ เอาเป็นว่าเกี่ยวกับเส้นทางก็แล้วกัน ต่อมาก็ .kml .kxml อันนี้เอาไว้โหลดกับเว็บแผนที่ ที่คุ้นเคยเช่น Google Earth แต่สำหรับบ้านเราขอแนะนำ PontAsia ของคนไทยเพื่อคนไทยชัดมากกว่า Google ขนาดเขียนชื่อติดหลังคายังอ่านได้เลย ไม่ได้โม้เดี๋ยวจะให้ดูโรงแรมที่ไปพักมาเอาเองละกัน  ตอนนี้รู้จักไฟล์เบี้องต้นเพียงเท่านี้ก็ถือว่าหรูแล้วล่ะ

      

                        ส่วนโปรแกรมที่ใช้ก็มี

    clip_image002

     

    IGO8 อันนี้ใช้นำทางที่ดีที่สุดในตอนนี้ เคยใช้มาแล้วหลายแบบตัวนี้น่าจะเป็นตัวเด่นที่สุด ปรับแต่งรูปแบบได้ เพิ่มข้อมูลได้หลากหลายไม่ค่อยยุ่งยาก แผนที่ละเอียด นำทางเร็วแม่นยำจากซอยถึงซอย หาดูดีๆแล้ว ไม่ต้องเสียตังส์  เกือบลืมไป โปรแกรมมีทั้งแบบใช้บน PDA,PNA แต่ที่แนะนำนี้เป็นเวอร์ชั่น PC ซึ่งไม่เหมือนกัน ทั้งขัอมูลวิธีใช้งานและตัวโปรแกรมหาได้จากเว็บ

    http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=177999&PN=1  

    http://www.smart-mobile.com/forum/ 

    http://itxpda.com/

     

    เรียกว่าขัดข้องหมองใจใดๆ ในเรื่อง IGO8 ชุมชนที่นี่ยินดีช่วยเหลือ

     

    clip_image003

                         โปรแกรมที่ต้องทราบหลักๆ คือ GPSgate อันนี้ใช้มากเพราะ ปกติ GPS จะแพร์อุปกรณ์ได้กับโปรแกรมเพียงตัวเดียวจะเปิดโปรแกรมพร้อมกันหลายโปรแกรมไม่ได้ต้องเลือกเพียงโปรแกรมเดียว ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อเราต้องการใช้ประโยชน์จาก GPS ในหลายด้าน โปรแกรมนี้สามารถสนองความต้องการตรงนี้ได้ดีที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุด

                     ต่อมาก็ GPSView หรือ VisualGPS อันนี้เอาไว้อ่านพิกัดหรือเก็บเส้นทาง แล้วเอาไปอ่านใน GoogleEarth หรือ PointAsia

    clip_image004

     

    clip_image005

     

    clip_image006

     

 

              สุดท้าย GPSBabel ใช้สำหรับแปลงค่าจากทั้งสองโปรแกรมมาเป็นไฟล์ .kml เพื่อเอาไว้อ่านใน GoogleEarth หรือ PointAsia

 

clip_image007

 

                    และนี่คือภาพ waypoint แสดงเส้นทางที่อ่านจาก PointAsia ในวันที่ไปเที่ยว จ.แพร่ เส้นสีฟ้า คือเส้นทางที่เราไปมา เนี่ยก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าเวลาขับรถเล่นไปเรื่อยๆ มันวนไปวนมาอย่างนี้ นี่เอง

     

    clip_image008

     

    สุดท้ายจริงๆ ตอนที่ออกทดสอบ GPS ต้องมีผู้ช่วยสำหรับถือโนตบุคระหว่างที่ขับรถ จึงต้อง เปิดเผยโฉมหน้าของผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ หวัดดีคร้าบ

     

    clip_image009

     

Comments